O4  ข้อมูลคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ (2567)

              กต.ตร. ย่อมาจาก  คณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ มีที่มาสืบเนื่องจากเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 (มาตรา 76) ที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทและภารกิจในการตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานของตำรวจในทุกระดับ    ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะในการกำหนดนโยบายการพัฒนาและบริหารงานของรัฐบาล  เพื่อปรับปรุงกิจการตำรวจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีการกระจายอำนาจและเปิดโอกาสให้สังคมมีส่วนร่วมในการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ และให้ข้อเสนอแนะอย่างเป็นระบบ

 คู่มือการดำเนินการตามระเบียบ ก.ต.ช.ว่าด้วย กต.ตร.ฯ

อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจ (กต.ตร.) ของสถานีตำรวจ ที่ ก.ต.ช. กำหนดไว้ มีดังต่อไปนี้
1.  รับแนวทางและนโยบายการพัฒนาและการบริหารงานตำรวจจากคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลตามนโยบาย
2.  ให้คำปรึกษาและเสนอแนะการปฏิบัติงานของสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
3.  ส่งเสริมให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจและการบริหารงานตำรวจ
4.  ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.)
5.  รับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจในสถานีตำรวจ และดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ว่าด้วยการรับคำร้องเรียนของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจ
6. ให้ข้อมูลข่าวสารและเสนอปัญหาความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในเขตพื้นที่
7. ให้คำแนะนำและช่วยเหลือสนับสนุนการประชาสัมพันธ์งานของถานีตำรวจ
8. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือที่ปรึกษา เพื่อดำเนินการ  อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่ กต.ตร.สน./สภ. มอบหมาย9.  รายงานผลการปฏิบัติงานให้คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ(ก.ต.ช.) ทราบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) กำหนด
10. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) มอบหมาย
 

ข้อมูล ณ วันที่ 1 มกราคม 2567

ผลการดำเนินงานของ กต.ตร.สน.ร่มเกล้า