O14 แนวปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจไม่รับคำร้องทุกข์ในคดีอาญา

คำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 419/2556 เรื่อง การอำนวยความยุติธรรมในคดีอาญา การทำสำนวนการสอบสวน และมาตรการควบคุม ตรวจสอบ เร่งรัดการสอบสวนคดีอาญา

ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการรับเลขคำแจ้งความ และคดีอาญา พ.ศ.2565

การอํานวยความยุติธรรมในคดีอาญา  

“การรับแจ้งความ” หมายถึง การที่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวข้องได้รับแจ้งเรื่องราวต่างๆ จากผู้ที่มาแจ้งยังหน่วยงานที่มีอํานาจสอบสวน ทั้งที่ไม่เกี่ยวกับคดีอาญา และเกี่ยวกับคดีอาญา

“หน่วยงานที่มีอํานาจสอบสวน” หมายถึง สถานีตํารวจ กลุ่มงานสอบสวน หรือกองกํากับการที่มีอํานาจหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนในสังกัดกองบัญชาการตํารวจนครบาล ตํารวจภูธรภาค ๑ – ๙ ศูนย์ปฏิบัติการตํารวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กองบัญชาการตํารวจสอบสวนกลาง สํานักงานตรวจคนเข้าเมือง และกลุ้มงานสอบสวนและตรวจสอบทรัพย์สินในสังกัดกองบัญชาการตํารวจ ปราบปรามยาเสพติด

 “การแจ้งความที่ไม่เกี่ยวกับคดีอาญา” หมายถึง การที่ผู้แจ้งมาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ตํารวจ ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งไม่ใช่คําร้องทุกข์ หรือคํากล่าวโทษเพื่อให้ดําเนินการ หรือขอรับบริการในเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวกับคดีอาญา

“การแจ้งความที่เกี่ยวกับคดีอาญา” หมายถึง การที่ผู้แจ้งมาแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ ตํารวจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งเกี่ยวกับการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษในคดีอาญาทั่วไป หรือคดีจราจรทางบก

“คดีอาญาทั่วไป” หมายถึง คดีที่กล่าวหาว่าผู้ใดกระทําความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา และกฎหมายอื่นที่มีโทษทางอาญา

“คดีจราจรทางบก” หมายถึง คดีที่กล่าวหาว่าผู้ใดขับรถในทางโดยประมาทเป็น เหตุให้ทรัพย์สินผู้อื่นได้รับความเสียหาย และหรือผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และหรืออันตราย สาหัสและหรือถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๓(๔), มาตรา ๑๕๗ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๙๐ มาตรา ๓๐๐ หรือมาตรา ๒๙๑

แนวปฏิบัติในการใช้ดุลยพินิจไม่รับคำร้องทุกข์ในคดีอาญา

การรับแจ้งความ ให้ผู้รับแจ้งความพึงระลึกไว้เสมอว่า การรับแจ้งความเป็นหน้าที่ที่จะต้อง บริการประชาชน เพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่ว่า “เป็นตํารวจมืออาชีพ เพื่อความผาสุกของประชาชน” จึงต้องรับแจ้งความ และให้บริการทุกเรื่องโดยให้ปฏิบัติ ดังนี้

๑. การดําเนินการเมื่อได้รับแจ้งความ

๑.๑ เมื่อมีผู้มาติดต่อราชการที่หน่วยงานที่มีอํานาจสอบสวน ไม่ว่าด้วยเรื่องใดๆ ให้เจ้าหน้าที่ตํารวจซึ่งปฏิบัติหน้าที่อยู่ในขณะนั้นทุกนาย อํานวยความสะดวกให้คําแนะนําที่ถูกต้อง อย่างรวดเร็ว ห้ามมิให้หลีกเลี่ยงหรือละเลยหรือปัดความรับผิดชอบ

๑.๒ เมื่อมีผู้มาแจ้งความที่ไม่เกี่ยวกับคดีอาญา และผู้แจ้งมีความประสงค์จะแจ้งไว้ เป็นหลักฐานเพื่อประกอบการยืนยัน รับรอง หรือตรวจสอบ ให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ซึ่งมีหน้าที่ เกี่ยวข้องบันทึกคําแจ้ง ความนั้น ในสมุดรายงานประจําวันรับแจ้งเป็นหลักฐาน ส่วนการแจ้งเอกสารหาย ให้บันทึกการรับแจ้งไว้ในสมุดรายงานประจําวันรับแจ้งเอกสารหาย

๑.๓ เมื่อมีผู้มาแจ้งความที่เกี่ยวกับคดีอาญา ให้พนักงานสอบสวนทุกนายพึงระลึก อยู่เสมอว่า         ผู้เสียหายอาจร้องทุกข์หรือผู้กล่าวโทษอาจกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนได้ และพนักงานสอบสวนมีหน้าที่ต้องรับคําร้องทุกข์ หรือคํากล่าวโทษตามกฎหมาย ไม่ว่าเหตุจะเกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่า เกิดภายในเขตอํานาจการสอบสวนของตนหรือไม่ก็ตาม ห้ามปฏิเสธว่าเหตุมิได้เกิดในเขตอํานาจตน และให้ ดําเนินการ ดังนี้

 ๑.๓.๑ การรับแจ้งความที่เกี่ยวกับคดีอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่าได้ เกิดภายในเขตอํานาจของตน โดยให้พนักงานสอบสวนรับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษตามระเบียบว่าด้วย การรับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษ โดยให้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการรับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษ ไว้ในสมุดสารบบการดําเนินคดีอาญาทั่วไป หรือสมุดสารบบการดําเนินคดีจราจรทางบกไม่ว่าจะเป็นกรณี ที่เปรียบเทียบปรับในวันที่รับคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษได้หรือไม่ก็ตาม หรือทําสํานวนการสอบสวน และลงรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดี แล้วรีบดําเนินการสอบสวนโดยไม่ชักช้า

กรณีร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษในความผิดอาญาซึ่งมิได้เกิดในเขต อํานาจของตนหรือที่เกิดนอกราชอาณาจักร ให้รับแจ้งความโดยลงรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดีไว้ หลังจาก นั้นให้ส่งเรื่องไปยังพนักงานสอบสวนแห่งท่องที่ที่รับผิดชอบเพื่อดําเนินการสอบสวนต่อไป

๑.๓.๒ การรับแจ้งความที่เกี่ยวกับคดีอาญาซึ่งได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่า ได้เกิดภายในเขตอํานาจของตนแต่เป็นกรณีที่ผู้เสียหายขอความช่วยเหลือแต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ หรือคดีความผิดต่อส่วนตัวซึ่งผู้เสียหายมาแจ้งความต่อพนักงานสอบสวน และคู่กรณีได้เจรจายอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะมีการรับคําร้องทุกข์ตามระเบียบ หรือกรณีอื่นๆ พนักงานสอบสวนไม่ต้อง ทําการสอบสวน แต่ให้ลงรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดี พร้อมทั้งบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการรับแจ้ง ความไว้ในสมุดสารบบการรับแจ้งความที่เกี่ยวกับคดีอาญาโดยไม่สอบสวน (แบบ ส ๕๖ – ๗๔ )

๑.๔ การรับแจ้งความที่ยังไม่แน่ชัดว่าความผิดอาญาได้เกิด หรืออ้าง หรือเชื่อว่า ได้เกิดในเขตอํานาจของตน ให้พนักงานสอบสวนดําเนินการดังนี้

(๑) ให้พนักงานสอบสวนดําเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา ๑๙

(๒) กรณีที่ไม่แน่ว่าพนักงานสอบสวนคนใดในจังหวัดเดียวกัน หรือในระหว่าง หลายจังหวัดให้ดําเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๑ โดยให้พนักงานสอบสวน ที่รับแจ้งความดําเนินการสอบสวนเบื้องต้น แล้วเสนอความเห็นไปยังผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นจนถึงผู้มีอํานาจ ชี้ขาดวินิจฉัยสั่งการ

๑.๕ การรับแจ้งความที่ยังไม่แน่ชัดว่าเป็นคําร้องทุกข์หรือคํากล่าวโทษ หรือเป็น เรื่องทางแพ่ง      ให้พนักงานสอบสวนบันทึกการรับแจ้งความไว้ในรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดี แล้วรีบเสนอ เรื่องให้ผู้บังคับบัญชาตามลําดับชั้นถึงหัวหน้าหน่วยงานที่มีอํานาจสอบสวน พิจารณาสั่งภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับแต่เวลาที่บันทึกการรับแจ้งความไว้ในรายงานประจําวันเกี่ยวกับคดี

กรณีผู้บังคับบัญชาหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาวินิจฉัยสั่งการแล้วเห็นว่า เป็นเรื่องในทางแพ่งก็ให้ชี้แจงทําความเข้าใจให้ผู้แจ้งความทราบและลงประจําวันเกี่ยวกับคดี พร้อมให้ ผู้แจ้งความลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน กรณีผู้บังคับบัญชาหัวหน้าหน่วยงานพิจารณาวินิจฉัยสั่งการแล้วเห็นว่าเป็น เรื่องในทางอาญา ไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาแผ่นดินหรือความผิดต่อส่วนตัว ก็ให่พนักงานสอบสวน พิจารณาตามอํานาจหน้าที่ต่อไป

๑.๖ ในกรณีเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือแต่ไม่ยอม ร้องทุกข์ตามระเบียบ หรือเมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเสียเองโดยมิได้ร้องทุกข์ก่อน หรือเมื่อมีหนังสือกล่าวโทษ เป็นบัตรสนเท่ห์ หรือบุคคลที่กล่าวโทษด้วยปากไม่ยอมบอกว่า เขาคือใคร หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อใน คํากล่าวโทษหรือบันทึกคํากล่าวโทษ พนักงานสอบสวนจะไม่ทําการสอบสวนก็ได้ แต่ต้องได้รับความ เห็นชอบจากผู้บังคับการ หรือผู้บัญชาการสําหรับหน้วยงานที่มีอํานาจสอบสวนซึ่งขึ้นตรงต่อกองบัญชาการหรือส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่ากองบัญชาการ

ในกรณีผู้เสียหายขอความช่วยเหลือแต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ ให้พนักงานสอบสวนดําเนินการให้ความช่วยเหลือตามหน้าที่โดยมิชักช้า หลังจากนั้นจึงรายงานผู้บังคับการ หรือผู้บัญชาการสําหรับหน่วยงานที่มีอํานาจสอบสวนซึ่งขึ้นตรงต่อกองบัญชาการหรือส่วนราชการที่มีฐานะ เทียบเท่ากองบัญชาการ เพื่อจะไม่ทําการสอบสวน

กรณีดังกล่าว หากผู้บังคับบัญชามีความเห็นว่าไม่ต้องทําการสอบสวน ให้บันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับการรับแจ้งความไว้ในสมุดสารบบการรับแจ้งความที่เกี่ยวกับคดีอาญา โดยไม่สอบสวน (แบบ ส.๕๖-๗๔)

ในกรณีเป็นความผิดอาญาแผ่นดินและไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามวรรคสอง ให้พนักงานสอบสวนทําการสอบสวนว่ามีมูลความผิดหรือไม่ ถ้าปรากฏเป็นความผิดแล้วเป็นหน้าที่ของ พนักงานสอบสวนที่จะต้องดําเนินการสอบสวนต่อไป

การแจ้งความมี 2 กรณี

1) การแจ้งความร้องทุกข์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2 (7) “คำร้องทุกข์” หมายถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตาม ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ

โดยบุคคลที่จะแจ้งความร้องทุกข์ได้จะต้องเป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(4) “ผู้เสียหาย” หมายถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่งรวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 4 มาตรา 5 และมาตรา 6 เพราะหากไม่ใช่ผู้เสียหายตาม มาตรา 2(4) ก็จะไม่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์

2) การแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน การแจ้งให้พนักงานสอบสวนจดข้อความลงไปในรายงานประจำวันเพื่อเป็นหลักฐาน ไม่ใช่การมอบคดีให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการร้องทุกข์ เพราะไม่มีเจตนาให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ เป็นเพียงการลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐานเท่านั้น ดังนั้น หากเป็นการแจ้งความเพื่อเป็นหลักฐาน ตำรวจจะไม่มีอำนาจสอบสวนความผิดนั้นเพื่อดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไปได้

๒ การแจ้งผลความคืบหน้าการสอบสวน

เพื่อเป็นการสื่อสารและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับผู้แจ้งความร้องทุกข์หรือ กล่าวโทษ รวมทั้งผู้ที่ได้รับความเสียหายในคดีจราจรทางบกซึ่งมิใช่ผู้ต้องหา หรือญาติของผู้ตายในสํานวน ชันสูตรพลิกศพ ได้รับทราบความคืบหน้าผลการดําเนินการของพนักงานสอบสวน ทั้งนี้เพื่อเป็นการ ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมกัน จึงให้พนักงานสอบสวนถือปฏิบัติดังนี้

๒.๑ คดีทุกประเภทที่มีผู้แจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวน ให้แจ้งความคืบหน้าผลการดําเนินการให้ผู้ร้องทุกข์หรือผู้กล่าวโทษ รวมทั้งผู้ที่ได้รับความเสียหายในคดี จราจรทางบกซึ่งมิใช่ผู้ต้องหา หรือญาติของผู้ตายในสํานวนชันสูตรพลิกศพทราบ โดยให้พนักงานสอบสวน เจ้าของสํานวนหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายมีหน้าที่แจ้งความคืบหน้า

๒.๒ การแจ้งผลความคืบหน้าการสอบสวนให้ผู้ร้องทุกข์หรือผู้กล่าวโทษทราบ ให้ทําเป็นหนังสือแจ้งความคืบหน้าการสอบสวน โดยมีระยะเวลาในการแจ้งความคืบหน้าผลการสอบสวน ดังนี้

๒.๒.๑ ครั้งแรก เมื่อครบกําหนด ๓๐ วันนับแต่วันรับคําร้องทุกข์ หรือ คํากล่าว โทษ

๒.๒.๒ ครั้งที่สอง เมื่อครบกําหนด ๖๐ วันนับแต่วันที่แจ้งครั้งแรก

๒.๒.๓ ครั้งที่สาม เมื่อสรุปสํานวนการสอบสวนส่งให้พนักงานอัยการ ทั้งนี้ หากมีการออกหมายจับ หรือจับกุมผู้ต้องหาได้ก็ให้แจ้งผู้ร้องทุกข์หรือ ผู้กล่าวโทษทราบด้วย

ตร.ที่-419-2556