O12 แนวปฏิบัติในการจับหรือค้น

มาตรการบังคับทางอาญา ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

แนวปฏิบัติในการจับกุม

1.การจับ หมายถึง การนำตัวผู้ทำผิดมาลงโทษ และเป็นการกระทำที่จะกระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพของผู้ต้องหา หรือจำเลย

          เนื่องจากบุคคลย่อมมีความเสมอภาคกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย[1] มีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายเท่าเทียมกัน การใช้มาตรการบังคับในทางอาญาของเจ้าพนักงานรัฐ ย่อมส่งผลกระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะการจับกุม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรง ต่อเนื้อตัว ร่างกายและสิทธิเสรีภาพ ของผู้ถูกจับโดยตรง

สำหรับการจับนั้นเป็นมาตรการที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในการ

นำตัวผู้กระทำความผิดมาฟ้องลงโทษ และเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนมากที่สุดอย่างหนึ่ง การจับนั้น ก่อให้เกิดอำนาจในการควบคุมผู้ถูกจับ และผู้จับมีอำนาจค้นตัวผู้ถูกจับและยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ อีกประการหนึ่งนั้น เมื่อมีการจับเกิดขึ้นกฎหมายยังห้ามมิให้ใช้วิธีควบคุมผู้ถูกจับเกินกว่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันมิให้ผู้ถูกจับหนีเท่านั้น

[1] มาตรา ๒๘ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 บัญญัติไว้ให้บุคคลย่อมมีสิทธิ

และเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

การจับและการคุมขังบุคคลจะกระทำมิได้เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา 78  พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจะจับผู้ใดโดยไม่มีหมายจับหรือคำสั่งของศาลนั้นไม่ได้

เว้นแต่

               (1) เมื่อบุคคลนั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้าดังได้บัญญัติไว้ในมาตรา 80

               (2) เมื่อพบบุคคลโดยมีพฤติการณ์อันควรสงสัยว่าผู้นั้นน่าจะก่อเหตุร้ายให้เกิดภยันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมีเครื่องมือ อาวุธ หรือวัตถุอย่างอื่นอันสามารถอาจใช้ในการกระทำความผิด

               (3) เมื่อมีเหตุที่จะออกหมายจับบุคคลนั้นตามมาตรา 66 (2) แต่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ไม่อาจขอให้ศาลออกหมายจับบุคคลนั้นได้

               (4) เป็นการจับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่หนีหรือจะหลบหนีในระหว่างถูกปล่อยชั่วคราวตามมาตรา 117

               มาตรา 79  ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่งมาตรา 82 หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ระบุไว้ในบัญชีท้ายประมวลกฎหมายนี้ด้วย

2.ผู้จับกุม แบ่งออกได้ 2 กรณี

  1. พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ เป็นผู้จับ
  2. ราษฎร หรือประชาชนเป็นผู้จับ

3.ผู้ถูกจับ ได้แก่

  • คนร้าย หมายถึง ผู้ร้าย หรือ คนร้าย ผู้กระทำผิดกฎหมายอาญา
  • ผู้ต้องหา หมายถึง บุคคลที่ถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา แต่ยังมิถูกฟ้องต่อศาล

4.เหตุจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. การจับโดยมีหมายจับของศาล
  2. การจับโดยไม่มีหมายจับของศาล

4.1 วิธีการจับโดย “มีหมายจับ” ของศาล

โดยหลัก การจับนั้น เจ้าพนักงานหรือราษฎรซึ่งทำการจับ ต้องแจ้งแก่ผู้ที่จะถูกจับนั้นว่าเขาต้องถูกจับ แล้วสั่งให้ผู้ถูกจับไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่ถูกจับพร้อมด้วยผู้จับ เว้นแต่สามารถนำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบได้ในขณะนั้น ให้นำไปที่ทำการของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบดังกล่าว แต่ถ้าจำเป็นก็ให้จับตัวไป[1]

[1] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๓

การบังคับใช้หมายจับ[1] หมายจับให้ใช้ได้ทั่วราชอาณาจักร

[1] มาตรา ๗๗  หมายจับให้ใช้ได้ทั่วราชอาณาจักร

การจัดการตามหมายจับนั้นจะจัดการตามเอกสารหรือหลักฐานอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ก็ได้

(๑) สำเนาหมายอันรับรองว่าถูกต้องแล้ว

(๒) โทรเลขแจ้งว่าได้ออกหมายแล้ว

(๓) สำเนาหมายที่ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา

การจัดการตาม (๒) และ (๓) ให้ส่งหมายหรือสำเนาอันรับรองแล้วไปยังเจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายโดยพลัน

ในกรณีที่เจ้าพนักงานตำรวจหรือราษฎรเป็นผู้จับตามหมายจับของศาล เจ้าพนักงานตำรวจผู้จับต้องแสดงหมายจับต่อผู้ถูกจับ และแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า ผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะไม่ให้การหรือให้การก็ได้และถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้และผู้ถูกจับมีสิทธิที่จะพบและปรึกษาทนายความ หรือผู้ซึ่งจะเป็นทนายความ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจทราบถึงการจับกุมที่สามารถดำเนินการได้โดยสะดวกและไม่เป็นการขัดขวางการจับหรือการควบคุมผู้ถูกจับหรือทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใด ก็ให้เจ้าพนักงานอนุญาตให้ผู้ถูกจับดำเนินการได้ตามสมควรแก่กรณี ในการนี้ให้เจ้าพนักงานผู้จับนั้นบันทึกการจับดังกล่าวไว้ด้วย

ถ้าบุคคลซึ่งจะถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ หรือหลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับนั้น
4.2.1 การจับโดยพนักงานปกครองหรือตำรวจ

4.2.2. การจับโดยราษฎร โดยหลัก ราษฎรไม่มีอำนาจจับกุม ทั้งนี้ กฎมายวิธีพิจารณาความอาญา

มีข้อยกเว้นจับกุมบางกรณีได้ ดังนี้

                   4.2.2.1. เจ้าพนักงานขอให้บุคคลใกล้เคียงช่วยจับ

                   4.2.2.2. ผู้ต้องหา หรือจำเลยหลบหนี บุคคลซึ่งเป็นนายประกัน (ประกันตัว) ไม่อาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ทันท่วงที มีอำนาจจับผู้ต้องหา หรือจำเลย ได้เอง

                   4.2.2.3. บุคคลซึ่งกระทำผิดซึ่งหน้า และ ความผิดนั้นระบุไว้บัญชีท้ายกฎหมายวิธีพิจารณาอาญา[1]

[1] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๗๙ วางหลักไว้ว่า  ราษฎรจะจับผู้อื่นไม่ได้เว้นแต่จะเข้าอยู่ในเกณฑ์แห่งมาตรา ๘๒ หรือเมื่อผู้นั้นกระทำความผิดซึ่งหน้า และความผิดนั้นได้ระบุไว้ในบัญชีแนบท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

มาตรา ๘๒ (เจ้าพนักงานขอให้บุคคลใกล้เคียงช่วยจับ)

                                เจ้าพนักงานผู้จัดการตามหมายจับ จะขอความช่วยเหลือจากบุคคลใกล้เคียงเพื่อจัดการตามหมายนั้นก็ได้ แต่จะบังคับให้ผู้ใดช่วยโดยอาจเกิดอันตรายแก่เขานั้นไม่ได้

บัญชีแนบท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ความผิดในกฎหมายลักษณะอาญา ซึ่งราษฎร       มีอำนาจจับได้โดยไม่ต้องมีหมาย ดังนี้

               1.ความผิดฐานประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล มาตรา ๙๗ และ ๙๙

               2.ความผิดฐานขบถภายในพระราชอาณาจักร มาตรา ๑๐๑ ถึง ๑๐๔

               3.ความผิดฐานขบถภายนอกพระราชอาณาจักร มาตรา ๑๐๕ ถึง ๑๑๑

               4.ความผิดฐานความผิดต่อทางพระราชไมตรีกับต่างประเทศ มาตรา ๑๑๒

               5.ความผิดฐานทำอันตรายแก่ธง หรือเครื่องหมายของต่างประเทศ มาตรา ๑๑๕

               6.ความผิดฐานความผิดต่อเจ้าพนักงาน มาตรา ๑๑๙ ถึง ๑๒๒ และ ๑๒๗

               7.ความผิดฐานหลบหนีจากที่คุมขัง มาตรา ๑๖๓ ถึง ๑๖๖

8.ความผิดฐานความผิดต่อศาสนา มาตรา ๑๗๒ และ ๑๗๓

    9.ความผิดฐานก่อการจลาจล มาตรา ๑๘๓ และ ๑๘๔

    10.ความผิดฐานกระทำให้เกิดภยันตรายแก่สาธารณชน กระทำให้สาธารณชนปราศจากความ

สะดวกในการไปมาและการส่งข่าวและของถึงกัน และกระทำให้สาธารณชนปราศจากความสุขสบาย มาตรา ๑๘๕ ถึง ๑๙๔, ๑๙๖, ๑๙๗ และ ๑๙๙

               11.ความผิดฐานปลอมแปลงเงินตรา มาตรา ๒๐๒ ถึง ๒๐๕ และ ๒๑๐

               12.ความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรา มาตรา ๒๔๓ ถึง ๒๔๖

               13.ความผิดฐานประทุษร้ายแก่ชีวิต มาตรา ๒๔๙ ถึง ๒๕๑

               14.ความผิดฐานประทุษร้ายแก่ร่างกาย มาตรา ๒๕๔ ถึง ๒๕๗

               15.ความผิดฐานความผิดฐานกระทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพ มาตรา ๒๖๘, ๒๗๐ และ ๒๗๖

               16.ความผิดฐานลักทรัพย์ มาตรา ๒๘๘ ถึง ๒๙๖

               17.ความผิดฐานวิ่งราว ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และโจรสลัด มาตรา ๒๙๗ ถึง ๓๐๒

               18.ความผิดฐานกรรโชก มาตรา ๓๐๓

5.สถานที่ห้ามจับ

1.ที่รโหฐาน[1] เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน

(เว้นแต่มีหมายค้น)

ความหมายของที่รโหฐาน สถานที่ ที่ประชาชนไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ หรือที่ส่วนตัว อันแสดงถึงเจตนาหวงกันของเจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่

2.ในพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง พระตำหนักฯ[2]เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้กำหนดให้ค้นได้

[1] ที่รโหฐาน หมายความถึง ที่ต่าง ๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถาน ดังบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา  ป.วิ.อาญา มาตรา 2 (13) และสาธารณสถาน หมายความว่าสถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ป.อาญา มาตรา 1 (3) การพิจารณาว่าสถานที่นั้นเป็นที่สาธารณสถานหรือไม่ ต้องพิจารณาว่าถ้าสถานที่นั้น ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ สถานที่นั้นก็เป็นสาธารณสถานไม่ใช่ที่รโหฐาน เพราะฉะนั้นที่รโหฐาน      จึงหมายถึงสถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนทั่วไปไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้

มาตรา ๘๑  ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในที่รโหฐาน เว้นแต่จะได้ทำตามบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้อันว่าด้วยการค้นในที่รโหฐาน

[2] มาตรา ๘๑/๑  ไม่ว่าจะมีหมายจับหรือไม่ก็ตาม ห้ามมิให้จับในพระบรมมหาราชวัง พระราชวัง วังของพระรัชทายาทหรือของพระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป พระราชนิเวศน์ พระตำหนัก หรือในที่ซึ่งพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประทับหรือพำนัก  เว้นแต่

(๑) นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย อนุญาตให้จับ และได้แจ้งเลขาธิการพระราชวัง หรือสมุหราชองครักษ์รับทราบแล้ว

(๒) เจ้าพนักงานผู้ถวายหรือให้ความปลอดภัยแด่พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท พระบรมวงศ์ตั้งแต่สมเด็จเจ้าฟ้าขึ้นไป หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เป็นผู้จับตามกฎหมายว่าด้วยราชองครักษ์ หรือตามกฎหมาย กฎ หรือระเบียบเกี่ยวกับการให้ความปลอดภัย

6.การปฏิบัติต่อผู้ถูกจับ

  1. สิทธิของผู้ต้องหา เมื่อถูกจับกุม[1]

[1] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 7/1 วางหลักไว้ว่า ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรกและให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้ด้วย

(1)พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว

 (2) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน

 (3) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร

 (4) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย

 ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง

เจ้าพนักงานผู้จับมีสิทธิค้นตัวผู้ถูกจับ

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๘๕  วางหลักไว้ว่า เจ้าพนักงานผู้จับหรือรับตัวผู้ถูกจับไว้ มีอำนาจค้นตัวผู้ต้องหา และยึดสิ่งของต่าง ๆ ที่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ การค้นนั้นจักต้องทำโดยสุภาพ ถ้าค้นผู้หญิงต้องให้หญิงอื่นเป็นผู้ค้น

สิ่งของใดที่ยึดไว้เจ้าพนักงานมีอำนาจยึดไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด เมื่อเสร็จคดีแล้วก็ให้คืนแก่ผู้ต้องหาหรือแก่ผู้อื่น ซึ่งมีสิทธิเรียกร้องขอคืนสิ่งของนั้น เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น

แนวปฏิบัติในการค้น

ความหมายของการค้น “ค้น” ตามความหมายที่ปรากฏในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง พยายาม หาให้พบ โดยวิธีสืบ เสาะ แสวง เป็นต้น

การค้น” ที่ใช้ในกระบวนการยุติธรรมทั่วไปนั้น หมายถึง “การค้นหาบุคคลและสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในการสืบสวน สอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานแห่งคดี

การค้นเป็นมาตรการที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เจ้าพนักงานได้กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ ในอันที่จะทำให้การสืบสวนสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้อง การพิจารณาและการบังคับให้เป็นไป ตามคำพิพากษาของศาลให้บังเกิดผลสมความมุ่งหมาย เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐาน รวมถึงการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริงหรือพิสูจน์ความผิด และเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามคำพิพากษาหรือตามคำสั่งศาล ละประการสำคัญก็คือทำการค้นเพื่อจับตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษตามกฎหมายต่อไป

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 (ที่ถูกยกเลิก โดย คสช) มาตรา 33 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถานบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุขการเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถานหรือในที่รโหฐานจะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ”

อย่างไรก็ตาม การเข้าไปในเคหสถานหรือสถานที่อันเป็นที่รโหฐานของผู้อื่นนั้นจะเข้าไปทำการใดโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองสถานที่นั้นมิได้ เพราะถือว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วย นอกจากจะมีหมายค้นหรือมีเหตุให้ค้นได้ในกรณีเข้าข้อยกเว้นที่อาจจะกระทำได้ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้การค้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ไม่ได้บัญญัติให้ความหมายไว้ แต่ถ้าได้ศึกษาจากบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยละเอียดแล้ว ก็มีความหมายอยู่ในตัวเองในความหมายทั่วไปที่ปรากฏในพจนานุกรม “ค้น” หมายความว่า พยายามหาให้พบ โดย วิธีการสืบ, เสาะ, แสวง เป็นต้น ในทางตำรากฎหมาย ได้ให้คำนิยามว่า “การค้น” เป็นมาตรการบังคับในการดำเนินคดีอาญาของรัฐที่เจ้าพนักงานของรัฐเท่านั้น มีอำนาจดำเนินการ การค้นเป็นการกระทำเพื่อจับกุมผู้ต้องสงสัยหรือเพื่อพบสิ่งของที่สามารถ อาจใช้เป็นพยานเอกสารเป็นของกลาง หรือเป็นพยานวัตถุ หรือเป็นการกระทำเพื่อช่วยบุคคล”

***การค้น บุคคลในสถานที่สาธารณะสถาน สามารถดำเนินการได้ทุกช่วงเวลา แต่ต้องอาศัยสาเหตุค้นดังที่กล่าวมา การค้นตัวผู้หญิง ต้องให้ผู้หญิงค้นตามกฎหมาย หรือ LGBTQ หรือ นักบวชตามศาสนา เจ้าหน้าที่ตำรวจพึงใช้วิธีการค้น โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ภายใต้กรอบกฎหมาย และความเหมาะสมแก่กรณี

การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ตรวจค้น

เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจได้รับทราบข้อมูลไม่ว่าจากการแจ้งเหตุของตัวผู้เสียหายเองหรือบุคคลอื่น หรือได้ข้อมูลจากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องจนได้ความชัดเจนว่า มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง หากสถานที่ดั่งกล่าวเป็นที่รโหฐาน การที่เจ้าพนักงานตำรวจจะเข้าไปตรวจค้นนั้น จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กล่าวคือ ต้องยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจในการดำเนินคดี เพื่อให้ศาลออกหมายคัน เว้นแต่กรณีเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๙๒[1]

[1] กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92  ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้

               (๑) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น

               (๒) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน

               (๓) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้น ควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น

การค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้น

          ตามหลักแล้ว เจ้าพนักงานตำรวจ ไม่มารถจะทำการตรวจค้นในที่รหาฐานได้ โดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งศาล แต่ก็มีข้อยกเว้นให้สามารถทำการตรวจค้นได้

          กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 92  ห้ามมิให้ค้นในที่รโหฐานโดยไม่มีหมายค้นหรือคำสั่งของศาล เว้นแต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้น และในกรณีดังต่อไปนี้

               (๑) เมื่อมีเสียงร้องให้ช่วยมาจากข้างในที่รโหฐาน หรือมีเสียงหรือพฤติการณ์อื่นใดอันแสดงได้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นในที่รโหฐานนั้น

               (๒) เมื่อปรากฏความผิดซึ่งหน้ากำลังกระทำลงในที่รโหฐาน

               (๓) เมื่อบุคคลที่ได้กระทำความผิดซึ่งหน้า ขณะที่ถูกไล่จับหนีเข้าไปหรือมีเหตุอันแน่นแฟ้นควรสงสัยว่าได้เข้าไปซุกซ่อนตัวอยู่ในที่รโหฐานนั้น

               (๔) เมื่อมีพยานหลักฐานตามสมควรว่าสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิดหรือได้มาโดยการกระทำความผิดหรือได้ใช้หรือมีไว้เพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรืออาจเป็นพยานหลักฐานพิสูจน์การกระทำความผิดได้ซ่อนหรืออยู่ในนั้น ประกอบทั้งต้องมีเหตุอันควรเชื่อว่าเนื่องจากการเนิ่นช้ากว่าจะเอาหมายค้นมาได้สิ่งของนั้นจะถูกโยกย้ายหรือทำลายเสียก่อน

               (๕) เมื่อที่รโหฐานนั้นผู้จะต้องถูกจับเป็นเจ้าบ้าน และการจับนั้นมีหมายจับหรือจับตามมาตรา ๗๘

               การใช้อำนาจตาม (๔) ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจผู้ค้นส่งมอบสำเนาบันทึกการตรวจค้นและบัญชีทรัพย์ที่ได้จากการตรวจค้น รวมทั้งจัดทำบันทึกแสดงเหตุผลที่ทำให้สามารถเข้าค้นได้เป็นหนังสือให้ไว้แก่ผู้ครอบครองสถานที่ที่ถูกตรวจค้น แต่ถ้าไม่มีผู้ครอบครองอยู่ ณ ที่นั้น ให้ส่งมอบหนังสือดังกล่าวแก่บุคคลเช่นว่านั้นในทันทีที่กระทำได้ และรีบรายงานเหตุผลและผลการตรวจค้นเป็นหนังสือต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไป

การค้นบุคคล ยานพาหนะ

ห้ามค้นบุคคลในที่สาธารณสถาน

          การค้นบุคคล ยานพาหนะ ในที่สาธารณะ ไม่สามารถจะกระทำได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นให้เจ้าพนักงานตำรวจสามารถทำการตรวจค้นได้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันการก่ออาชญากรรมขึ้น ถ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 93 ห้ามมิให้ทำการค้นบุคคลใดในที่สาธารณสถาน เว้น

แต่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นในเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งได้มาโดยการกระทำความผิดหรือซึ่งมีไว้เป็นความผิด

ดังนั้น การตรวจค้นในที่สาธารณะ ค้นได้ทั้งตัวบุคคล ยานพาหนะ กระเป๋าหรือทรัพย์สินภายในรถ แต่การที่จะไปตรวจค้นบุคคลใดหรือรถยนต์คันใดจะต้องกระทำโดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจเป็นผู้ค้นเท่านั้น บุคคลอื่นไม่มีสิทธิตรวจค้น และจะค้นได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลนั้นมีสิ่งของในความครอบครองเพื่อจะใช้ในการกระทำความผิด เช่น มีอาวุธปืน มีด ขวาน อุปกรณ์งัดแงะ เป็นต้น หรือบุคคลนั้นมีสิ่งของที่ได้มาโดยการกระทำความผิด เช่น มีทรัพย์สินของบุคคลอื่นที่ลักมาหรืองัดบ้านบุคคลอื่นมา เป็นต้น หรืออีกกรณีหนึ่งบุคคลนั้น มีสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด

O12